|
โครงการแก่นฟ้า พาเรียนรู้ คู่ชุมชน บนวิถีพอเพียง
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาโดยที่โรงเรียนเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เยาวชน ซึ่งจัดการศึกษามีเป้าหมายมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ ความถนัด เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนผ่านจากการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การประกอบอาชีพ น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวโดยให้โรงเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน จะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความคิดเป็นเหตุเป็นผลในการทำงาน สั่งสมความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ดังนั้นโรงเรียนบ้านแก่นฟ้า จึงได้สนองพระราชดำรัสจัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมีความเป็นไทยความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ มีทักษะในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางคำนึงถึงความประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำซึ่งโรงเรียนบ้านแก่นฟ้า ได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร นักเรียน ชุมชน ในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนให้ดำเนินไปในทางสายกลางเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกาภิวัตน์โดยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน พอควรต่อการมีผลกระทบอันเกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายในภายใต้เงื่อนไขพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรมโดยการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยการเชื่อมโยงจากโรงเรียนสู่ชุมชนให้ฝังรากลึกภายในตนเองอย่างยั่งยืนตลอดไป โรงเรียนบ้านแก่นฟ้า จึงได้จัดกิจกรรมโครงการแก่นฟ้า พาเรียนรู้ คู่ชุมชน บนวิถีพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 9 ในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้าและการปลูกพืชผักสวนครัวในห้วงฤดูฝน โดยการเลือกเมล็ดพันธุ์ผักที่เหมาะสมกับภูมิอากาศ เช่น มะเขือ บวบ แตงกวา กะเพรา ตะใคร้ ข่า เป็นต้น โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีความสุขใน การเรียนรู้อย่างแท้จริง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าและการปลูกพืชผักสวนครัวในห้วงฤดูฝน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติจริง ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ เห็นคุณค่าของงานอาชีพที่สุจริต เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาการประกอบอาชีพหรือรายได้เสริมและยังเกิดความภาคภูมิใจกับผลผลิต ได้รับผลผลิตจากการปฏิบัติ อีกทั้งผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้ ได้นำมาจำหน่ายแก่โครงการอาหารกลางวันนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการอาหารที่ดี และเจริญเติบโตตามวัย |
|