พัฒนาความรู้ สู่ศตวรรษที่ 21 มุ่งรู้เท่าทันสื่อออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ศตวรรษที่ 21 มุ่งรู้เท่าทันสื่อออนไลน์
ในโลกยุคปัจจุบันปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร “อินเตอร์เน็ต” ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ทำให้รูปแบบของการสื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบทั้งเชิงบวก และเชิงลบ โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นช่วงวัยที่สามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ได้โดยง่าย จึงทำให้ตกเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ได้รับผลกระทบเชิงลบ โรงเรียนบ้านวนาหลวงได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ดำเนิน ”โครงการพัฒนาพัฒนาความรู้ สู่ศตวรรษที่ 21 มุ่งรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ขึ้น” เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้น อีกทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักเรียนในใช้สื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นด้วย

โครงการ “พัฒนาความรู้ สู่ศตวรรษที่ 21 มุ่งรู้เท่าทันสื่อออนไลน์” ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพุทธิพิสัยของบลูมมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการจำ นักเรียนได้ศึกษาความรู้จากด่านความรู้ทั้ง 9 หัวข้อ ได้แก่ Digital world(สู่โลกดิจิทัล) Digital Use(การใช้ดิจิทัล) Digital Safety(ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล) Digital Security(ความมั่นคงทางดิจิทัล) Digital Emotional Intelligence(ความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล) Digital Communication(การสื่อสารทางดิจิทัล) Digital Media(การสื่อสารสนเทศทางดิจิทัล) Digital Literacy(ความรู้เรื่องทางดิจิทัล) และ Digital Rights(สิทธิและกฎหมายทางดิจิทัล) ในกิจกรรมสร้างความรู้ เรื่อง การรู้เท่าทันภัยออนไลน์
ขั้นที่ 2 ขั้นการเข้าใจ นักเรียนทำแบบทดสอบโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ได้ทำผ่านสมุดแบบทดสอบ จำนวน 27 ข้อ และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทำแบบทดสอบผ่าน Google forms จำนวน 90 ข้อ
ขั้นที่ 3 ขั้นการนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ได้ทำหน้าที่เป็นพี่บัดดี้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เพื่อจัดระเบียบความรู้แล้วถ่ายทอดความรู้ต่อไป
ขั้นที่ 4 ขั้นการวิเคราะห์ และ ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมิน นักเรียนนำความรู้จากกิจกรรมสร้างความรู้ เรื่อง การรู้เท่าทันภัยออนไลน์และการทำแบบทดสอบผ่านขั้นการวิเคราะห์และประเมินความรู้เพื่อเตรียมการทำกิจกรรม ออกแบบสื่อรณรงค์การป้องกันภัยจากสื่อสังคมออนไลน์และผลิตสื่อ
ขั้นที่ 6 ขั้นการสร้างสรรค์ นักเรียนได้นำเอาองค์ความรู้มาสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้วาดรูประบายสีในหัวข้อ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ได้ออกแบบผลงานผ่านแอพลิเคชัน Canva ในกิจกรรมออกแบบสื่อรณรงค์การป้องกันภัยจากสื่อสังคมออนไลน์และผลิตสื่อ

Loop to share model คือ นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้และการวัดประเมินผลโดยทันที เพื่อสร้างเป็นความรู้ที่พัฒนาขึ้นในแต่ละครั้งของการเรียนรู้ นำไปสู่การถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เป็นความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้อื่น และคงทนแก่ผู้เรียนเอง โดยมีขั้นตอน ได้แก่
1) Self-learning (การเรียนรู้ด้วยตนเอง) คือ การศึกษาหาความรู้ในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเอง
2) Testing (การทดสอบ) คือ การดำเนินการเพื่อหาระดับความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้เรียนโดยการใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการประเมิน
3) Feedback (การให้ข้อมูลย้อนกลับ) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้โดยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
4) Sharing (การแบ่งปันความรู้) ช่วยให้ผู้เรียนจดจำบทเรียนได้ดีขึ้นจากการได้ทบทวนและตกผลึกความรู้ ได้ค้นคว้า แลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้อื่น จากการได้ถ่ายทอดความรู้ของตนเอง