การจัดการเรียนการสอนรูปแบบทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน (ภาษาลาหู่ดำ)

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน (ภาษาลาหู่ดำ)
โรงเรียนบ้านปางห้วยตาด มีประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ใช้ภาษาแม่คือภาษาลาหู่ของตนเอง (ลาหู่ดำ) ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการศึกษา คือ เมื่อได้เข้าเรียนในโรงเรียน ภาษาเป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสารและการเรียนรู้ระหว่างครูกับเด็ก เพราะครูกับนักเรียนพูดคนละภาษา โดยเฉพาะในวัยเริ่มต้นของการเรียน จึงส่งผลต่อทัศนคติและการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนทัศนคติเกี่ยวกับตนเอง ความสามารถในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จากผลกระทบเหล่านี้ ทางโรงเรียน จึงนำแนวทางการสอนภาษาไทยโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานหรือทวิ/พหุภาษา เพื่อขจัดปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ การศึกษาที่เริ่มต้นด้วยภาษาลาหู่ของเด็กเป็นฐานเชื่อมโยงไปสู่การเรียนภาษาไทย จะช่วยสร้างรากฐานการเรียนรู้ที่แข็งแกร่งให้แก่เด็ก ทำให้เด็กกล้าแสดงออกได้อย่างมีความสุข กล้าแสดงตัวตน และแสดงความคิดของตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้คล่อง มีทักษะ และเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ ได้อย่างชัดเจน