|
กระบวนการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยใช้รูปแบบ Lesson Study Approach โรงเรียนบ้านดอนมูล ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
การนิเทศการศึกษามีความสําคัญต่อการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการ และ ปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ และคุณภาพการศึกษาตามนโยบายแห่งรัฐ กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต ๒ โรงเรียนบ้านดอนมูลจึงดำาเนินการ มีขั้นตอน การขับเคลื่อน Plc โดยใช้ Lesson Study Approach ไปใช้ในสถานศึกษามีรายละเอียด แต่ละขั้นตอน ดังนี้ ๑.กระบวนการ Lesson Study Approach ๒. ขั้นตอนนำสู่การปฏิบัติ ๓. การรวมกลุ่ม PLC แบ่งบทบาทหน้าที่ ๔. PLAN ๕.ร่วมกันวางแผนเพื่อวิเคราะปัญหาการจัดการเรียนรู้หรือสิ่งที่พัฒนานักเรียนกำเหนดเป้าหมายประเด็นในการพัฒนานักเรียน ๖. PLC ร่วมกันสะท้อนคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ Model Teacher และให้ Model Teacher นำสิ่งที่สะท้อนความคิดจากกลุ่มปรับปรุงพัฒนาและจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ ผลดำเนินงานตามนวัตกรรมการขับเคลื่อน PLC รูปแบบ Lesson Study Approach เชิงปริมาณ ๑. ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ตรงตามาตรฐานมีการใช้สื่อที่เหมาะสมและสอนในรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ ร้อยละ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ๒. นักเรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไปมีพัฒนาการอ่านออกเขียนภาษาไทยได้ในอยู่ระดับดี ๓. สถานศึกษามีการพัฒนาด้านการทดสอบการอ่านการเขียนอยู่ในในระดับที่ดีขึ้นไป ร้อยละ ๙๐ ๔. การประเมินผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รายวิชาภาษาไทยมีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ๖๓.๓๙ และการประเมินผลการทดสอบ การอ่าน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีคะแนนทั้งสองด้านสูงเทียบเท่าระดับประเทศ คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ๗๗.๒๘ เชิงคุณภาพ ๑. ครูผู้สอนมีแผนจัดการเรียนรู้ มีสื่อนวัตกรรมแบบฝึกพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยและ ใช้สื่อเทคโนโลยีมีทักษะจัดการเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learnig) ๒. นักเรียนได้พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ระดับดีขึ้นไป ๓. ผลสัมฤทธิ์การทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รายวิชาภาษาไทยมีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ ๔. ผลการทดสอบระดับประเทศ (Reading Test: RT) ความสามาถในด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีผลคะแนนสูงกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๔ และมีผลคะแนนทั้งสองด้านรวมกันเทียบเท่าระดับประเทศ ๕. สถานศึกษามีกระบวนการแก้ปัญหาพัฒนานักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีบรรยากาศห้องเรียนให้สะอาดเรียบร้อย สวยงาม ตอบสนองต่อการเรียนรู้ ผลงานดีเด่น/ผลงานที่ภาคภูมิใจ/ผลที่เกิดแล้วทำให้พัฒนาผู้เรียน/ครูพัฒนา/โรงเรียนพัฒนา ๑) โรงเรียนบ้านดอนมูลมีผลการทดสอบระดับประเทศ (Reading Test: RT) ความสามาถในด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๔ และมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละด้านการอ่านออกเสียงสูงกว่าระดับประเทศ ๒) ครูผู้สอนการจัดกิจกรรมในจัดการเรียนรู้ มีสื่อเกม มีนวัตกรรมแบบฝึกพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยและ ใช้สื่อเทคโนโลยีมีทักษะจัดการเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning)และได้รับรางวัลต่างๆ ๓) สถานศึกษามีกระบวนการแก้ปัญหาพัฒนานักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีบรรยากาศห้องเรียนให้สะอาดเรียบร้อย สวยงาม ตอบสนองต่อการเรียนรู้ ๔) โรงเรียนบ้านดอนมูลมีผลสัมฤทธิ์การทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รายวิชาภาษาไทยมีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ ๕) ผู้บริหารดำเนินการส่งเสริมกระบวนการ PLC สนับสนุนให้ครูนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตรงตามที่หลักสูตรกำหนด ส่งผลให้สามารถใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีการรายงานผลและนำผลไปใช้ปรับปรุงคุณภาพต่อไป |
|